ตอกเส้น
การตอกเส้นเป็นการรักษาแบบพื้นบ้านล้านนา มาแต่สมัยปู่ย่าตาทวด อุปกรณ์ในการตอกเส้น คือ ฆ้อน และลิ่ม ซึ่งทำมาจากไม้ที่ถูกฟ้าผ่า หรือแก่นไม้มะขาม เพราะมีความเชื่อว่า ทำให้พยาธิโรคาเกรงกลัว เกรงขามสมัยก่อนใช้งาช้างหรือเขาสัตว์ทำเป็นลิ่มตอก
อุปกรณ์ที่ใช้ในการรักษา
-ฆ้อน ทำมาจากไม้เนื้อแข็งที่ถูกฟ้าผ่า หากเป็นไม้มะขามไม่ถูกฟ้าผ่าก็สามารถใช้ได้ เพราะโรคจะได้เกรงขาม
-ลิ่ม ทำจากไม้เนื้อแข็งที่ถูกฟ้าผ่าและไม้มะขามความยาวประมาณ 6 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ลักษณะรูปทรงกรวยปลายที่วางบนผิวผู้ป่วยประมาณ 3 เซนติเมตร
-น้ำมัน น้ำมันที่ใช้ทำมาจากหัวไพล สะพานก๊น เสนียดดำ(ภาคเหนือเรียกบัวลาขาว) ขมิ้น ตะไคร้ ว่านหางจระเข้ เสลดพังพอนทั้ง 2 ผักเสี้ยนผีดอกเหลือง เถาวัลย์เปรียง เถาเอ็นอ่อน
ลักษณะท่าทางในการตอกเส้น
1.นอนคว่ำหน้า
2.นอนตะแคงขวา แขนเหยียดตรงชิดลำ
3.นอนหงาย แบฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง
4.นอนตะแคงซ้าย แขนเหยียดตรงชิดลำตัว
5.ท่านั่งก้มหน้าเล็กน้อย