• 2.jpg
  • 128888.jpg
  • tele4.jpg
  • -01.jpg
  • mhorprom.jpg
  • k3.jpg
  • 11.jpg
  • tele1.jpg
  • 44.jpg
  • 22.jpg
  • 55.jpg
  • k5.jpg
  • k4.jpg
  • 33.jpg
  • pr-cough.jpg
  • k1.jpg
  • tele2.jpg
  • k2.jpg
  • tele3.jpg
  • post_pregnant.jpg

ประวัติการแพทย์แผนไทย

             การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) คือ วิถีการดูแลสุขภาพของคนไทยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีไทย มีการใช้สมุนไพรทั้งในรูปแบบอาหาร และยา ใช้ในการอบ การประคบ การนวด การแพทย์แผนไทยมีการวินิจฉัยโรคเป็นแบบความเชื่อแบบไทย มีองค์ความรู้เป็นทฤษฎี โดยพื้นฐานทางพุทธศาสนาผสมกลมกลืนกับความเชื่อทางพิธีกรรม มีการเรียนการสอนและการถ่ายทอดความรู้อย่างกว้างขวางสืบทอดมายาวนานหลายพันปี นับเป็นภูมิปัญญาไทยที่น่าสนใจ

            พ.ศ.๒๕๓๒ การแพทย์แผนไทยได้เข้าสู่ระบบราชการ โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดตั้งศูนย์การประสานงานการแพทย์และเภสัชกรรมแผนไทยขึ้น เป็นองค์กรประสานงานการพัฒนาการแพทย์แผนไทย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๖ จึงได้จัดตั้งเป็นสถาบันการแพทย์แผนไทยขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ เป็นหน่วยงานระดับสูงกว่ากอง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และได้รับการรับรองฐานะอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๓ ต่อมาโดยพระราชบัญญัติคุ้มครอง ส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘ ๒ ก. ลงวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๔ หน่วยงานใหม่ที่เกิดขึ้นมีชื่อว่า "สถาบันการแพทย์แผนไทย"

      การแพทย์แผนไทยสมัยสุโขทัย

              ภัยไข้เจ็บในสมัยสุโขทัยตามหลักฐานที่ปรากฏในไตรภูมิกถา ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ได้กล่าวถึงโรคที่น่ากลัวในสมัยนั้นว่า "ฝูงคนกินเข้านั้น แลจะรู้ว่าเป็นหิด แล เรื้อน เกลื้อน แลกลาก หูด และเปา เป็นอมเป็นเต้า เป็นง่อย เป็นเพลีย ตาพู หูหนวก เป็นกระจอกงอกเลื้อยเปื้อย เมื่อยเนื้อเมื่อยตน ท้องขึ้น ท้องพอง ต้องไส้ ปวดหัว มัวตา ไข้เจ็บ เหน็บเหนื่อย วิการดังนี้ไส้" 8 การรักษาและตัวยา ไม่ปรากฎหลักฐานแต่อนุมานได้ว่าน่าจะรักษาแบบแพทย์แผน ไทยสมัยสุโขทัยคือการใช้สมุนไพร การนวดเฟ้น นอกจากนี้ยังมีวิธี การรักษาโดยใช้ไสยศาสตร์ พิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งปรากฏหลักฐานการค้นพบตุ๊กตา เสียกบาลเป็นจำนวนมาก ที่สร้างขึ้นในการบนบานศาลกล่าวยามเจ็บไข้ได้ป่วย

      การแพทย์แผนไทยสมัยอยุธยา

              ตำนานกล่าวถึงสาเหตุการอพยพสร้างเมืองใหม่ของพระเจ้าอู่ทองว่า เมืองเดิมเกิดภัยพิบัติ แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน เกิดโรคห่าระบาด ทำให้เกิดการอพยพผู้คนออกจากเมืองเดิม เพื่อแสวงหาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ที่บริเวณหนองโสน เป็นสภาพที่ลุ่ม มีแม่น้ำ ๓ สายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี และภายหลังสถาปนาเป็นเมืองหลวงชื่อพระนครกรุงศรีอยุธยา

              สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (อู่ทอง)(พ.ศ.๑๘๙๓-๑๙๑๒) ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๘๙๓ มีหลักฐานถึงการขุดศพเจ้านาย ๒ พระองค์ที่เป็นโรคห่าในครั้งนั้นขึ้นมาเผาตามโบราณราชประเพณี เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วยอื่นๆไม่ปรากฏหลักฐานเลย ตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(อู่ทอง) จากปี พ.ศ.๑๘๙๓ เป็นต้นมา ในปี พ.ศ.๑๙๙๗ รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (๑๙๙๑-๒๐๓๑) หลังจากพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติได้ ๖ ปี พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า "…ศักราช ๘๑๗ (พ.ศ.๑๙๙๗) ครั้งนั้นคนทั้งปวงเกิดทรพิษตายมากนัก…" แม้ว่าผู้คนตายมากมายเพราะโรคไข้ทรพิษระบาด แต่มีการดูแลรักษาจนโรคร้ายหมดสิ้นไป โดยไม่มีการทิ้งเมืองให้ร้างเช่นแต่ก่อนแสดงให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้าของการแพทย์สมัยอยุธยาในระดับหนึ่ง

       อโรคยาศาลา

              หลักฐานเกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วยการดูแลรักษาในสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ณ ดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จรด อีสานใต้ มีหลักฐานที่พอแสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยสมัยนั้นมีการจัดตั้งสถานที่ดูแลผู้ป่วย มีการทำงานแบ่งหน้าที่กันชัดเจนแล้วเช่น มีผู้ทำหน้าที่หมอ พยาบาล เภสัช มีการสังคมสงเคราะห์จัดโดยกษัตริย์ กษัตริย์กัมพูชา คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ได้สร้าง อโรคยศาลาหลายหลัง แสดงถึงคนไทยมีการเรียนรู้ในการดูแลสุขภาพของตนมาถึงขั้นรวมตัวทำงานคล้ายโรงพยาบาลมาแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ (พ.ศ.๑๗๒๔-๑๗๖๑) มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรกัมพูชา นอกจากจะเป็นผู้สร้างเมืองพระนครและปราสาท อันยิ่งใหญ่ และสร้างโบราณสถานอื่นๆ อีกมากมาย ยังได้สร้างสิ่งที่ในจารึกเรียกว่า "อโรคยาศาลา" จำนวน ๑๐๒ แห่ง อีกด้วย

      พระมหากรุณาธิคุณ

              พ.ศ. ๒๔๙๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) ในครั้งนั้นได้ทรงปรารภว่าวัดพระเชตุพนฯ เป็นแหล่งรวบรวมตำราแพทย์แผนไทยอยู่แล้ว ทำไมไม่จัดให้มีโรงเรียนสอนการแพทย์แผนไทยในวิชาเวชกรรม ผดุงครรภ์ หัตถเวช และเภสัชกรรม เพื่อเป็นวิทยาทานให้แก่ผู้สนใจต้องการศึกษา ทำให้คณะกรรมการวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการแพทย์แผนไทยที่ยังหลงเหลืออยู่ ได้รับสนองพระราชปรารภและจัดทำหลักสูตรโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้นในนาม "โรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย" และเปิดสอนเป็นแห่งแรกที่วัดพระเชตุพนฯ โดยแบ่งออกเป็น ๓ หลักสูตร คือ เวชกรรม เภสัชกรรม และหัตถเวช ทำให้บทบาทการแพทย์แผนไทยได้รับการสนับสนุนทั้ง ฟื้นฟูอย่างจริจังอีกครั้งหนึ่ง และแต่นั้นมาการแพทย์แผนไทยได้มีการขยายตัวอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งต่อการแพทย์แผนไทย